เกาะสีชัง Koh Sichang
Home Page Koh Sichang Guide
เกาะสีชัง ชาลีบังกาโลว์
ข้อมูลสำคัญ
แนะนำสถานที่ทำกิจกรรม
การเดินทาง
ภาพสถานที่ท่องเทียว
Koh Sichang / Ko Sichang
Charlie's Bungalows Koh Sichang
Reviews Charlie's Bungalows
Things to do on Koh Sichang
Getting to Koh Sichang
Koh Sichang Photo Gallery
Koh Sichang Video
History of Koh Sichang
Weather forecast Koh Sichang
Friends
Map of Koh Sichang
Calendar
Files
>
Mrs Smith Agoda
ยินดีต้อนรับสู่
..เกาะสีชัง..
"สีชัง...ชังแต่ชื่อ เกาะนั้นหรือจะชั่งใคร"
เพลงสีชัง
เป็นเพลงที่นำคำร้องมาจากบทละคอนร้องเรื่อง
"
พระร่วง
"
หรือ "ขอมดำดิน" บทพระราชนิพนธ์ใน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อ พ.ศ. 2457 เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการซ้อมรบของกองทัพเรือที่
สัตหีบ
ได้พระราชนิพนธ์ “กาพย์เห่เรือยุคใหม่” พระราชทานแก่หนังสือสมุทรสาร ซึ่งเป็นวรรณคดีปลุกใจให้รักชาติ
สง่า อารัมภีร
อัญเชิญมาใส่ทำนองเพลง บรรเลงโดยวง
สุนทราภรณ์
ขับร้องโดย
หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์
คำร้อง: พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทำนอง: สง่า อารัมภีร
สีชัง ชังชื่อแล้วอย่าชัง อย่าโกรธพี่จริงจังจิตข้อง ตัวไกลจิตก็ยังเนาว์แนบ เสน่ห์สนิทน้องนิจผู้อาดูร สีชัง ชังแต่ชื่อ เกาะนั้นหรือจะชังใคร ขอแต่แม่ดวงใจ อย่าชังชิงพี่จริงจัง ตัวไกลใจพี่อยู่ เป็นคู่น้องครองยืนยาว ห่างเจ้าเฝ้าแลหลัง ตั้งใจติดมิตรสมาน สีชัง ชังแต่ชื่อ เกาะนั้นหรือจะชังใคร ขอแต่แม่ดวงใจ อย่าชังชิงพี่จริงจัง ตัวไกลใจพี่อยู่ เป็นคู่น้องครองยืนยาว ห่างเจ้าเฝ้าแลหลัง ตั้งใจติดมิตรสมาน
** คำขวัญเกาะสีชัง **
จุฑาธุชราชฐาน ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ วัดไหนเกาะขาม ลือนามพระพุทธบาท
หาดทรายงามล้ำค่า เมืองท่าพาณิชย์
เกาะสีชัง
หมู่เกาะสีชังเป็นหมู่เกาะที่อยู่บริเวณก้นอ่าวไทย มีระยะทางห่างจากชายฝั่งอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ประกอบด้วย เกาะสีชัง และเกาะบริวารน้อยใหญ่อีก 8 เกาะ คือ เกาะยายท้าว เกาะค้างคาว เกาะท้ายตาหมื่น เกาะปรง เกาะขามใหญ่ เกาะขามน้อย เกาะสัมปันยื้อ และเกาะร้านดอกไม้
เกาะสีชัง
เป็นเกาะขนาดใหญ่ มีพื้นที่รวมประมาณ 7.9 ตารางกิโลเมตร มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนนานนับร้อยปี มีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่งดงาม ตลอดจนมีปูชนียสถานปูชนียวัตถุ ท่าเทียบเรือ โรงเรียน โรงพยาบาล สถานที่พักตากอากาศ และหน่วยงานราชการหลายแห่งตั้งอยู่ ส่วนเกาะยายท้าว เป็นเกาะขนาดเล็กอยู่ทางทิศใต้ของเกาะสีชัง ถัดลงมาเป็นเกาะค้างคาว และเกาะท้ายตาหมื่น ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญในการศึกษานิเวศวิทยาแนวปะการังที่สำคัญแห่งหนึ่งในอ่าวไทย ส่วนเกาะขามใหญ่ เกาะขามน้อย เกาะปรง และเกาะร้านดอกไม้นั้นอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะสีชัง
เกาะสีชัง
ตั้งอยู่โดดเด่นบริเวณปากอ่าว อันเป็นบริเวณที่เชื่อมต่อระหว่างทะเลอ่าวไทย และทะเลหลวงภายนอก จึงเปรียบเสมือนประตูผ่านเข้าอ่าวไทยจากทะเลใหญ่ และกลายเป็นสัญลักษณ์ของการมาถึง หรือออกจากประเทศไทย ในสมัยที่การเดินทาง และการค้าขายกับต่างประเทศยังคงใช้เส้นทางคมนาคมทางน้ำเป็นหลัก รวมทั้งเป็นแหล่งพักการเดินเรือ เพื่อหลบมรสุม มาตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบัน ในอดีตมีพระเจ้าแผ่นดินถึง 3 พระองค์ คือ รัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 เสด็จมาประพาสพักผ่อน และรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชฐานบนเกาะขึ้นเป็นแห่งแรก เพื่อเป็นสถานที่ประทับในฤดูร้อน และพระราชทานนามว่า
พระจุฑาธุชราชฐาน
ตามพระนามพระราชโอรสที่ประสูติบนเกาะสีชังแห่งนี้
ประเพณีและวัฒนธรรม
สักการะเจ้าพ่อเขาใหญ่
สถานที่:ศาลเจ้าเขาใหญ่ เริ่มตั้งแต่วันตรุษจีน ของทุกปี งานจะมีประมาณ 45 วัน
ประเพณีวันสงกรานต์
(รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ)
สถานที่:วัดจุฑาทิศธรรมสภารามวรวิหาร หมู่ 6 วันที่ 17 เมษายน เวลาประมาณ 14.00 น.เริ่มขบวนแห่
ประเพณีสงกรานต์วันไหลในวันสงกรานต์
(เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากเกาะสีชังไปเกาะขามใหญ่)
สถานที่: บ้านเกาะขามใหญ่ หมู่ 7 วันที่ 18 เมษายน
(เช้า)
ของทุกปี
ประเพณีสงกรานต์ วันกองข้าว
สถานที่: พระจุฑาธุชราชฐาน หมู่ 3 วันที่ 19 เมษายน
(บ่าย)
ของทุกปี
งานวันรำลึก 100 ปี สีชัง
สถานที่: พระจุฑาธุชราชฐาน หมู่ 3 วันที่ 20 กันยายน
(ทั้งกลางวัน กลางคืน)
ของทุกปี
อาชีพบนเกาะสีชัง
แต่ก่อนสีชัง เป็นกิ่งอำเภอ ในจังหวัดชลบุรี แต่ปัจจุบันฐานะของสีชัง มีศักดิ์ศรีเป็นถึงอำเภอ แต่ความเป็นอำเภอของเกาะสีชังนั้น ประกอบไปด้วย เกาะเล็ก เกาะน้อยข้างเคียงอีก 8 เกาะ มีเนื้อที่ประมาณ 18 ตารางกิโลเมตร ร้อยกว่าปีที่ผ่านมา ชุมชนเกาะสีชัง เป็นรูปเป็นร่างขึ้น กลายเป็นอำเภอเกาะสีชัง ซึ่งมี 7 หมู่บ้าน 6 หมู่บ้าน อยู่บนเกาะ ส่วนอีก 1 หมู่บ้าน อยู่บนเกาะขาม ใกล้ๆ กับเกาะสีชังนั่นเอง
ประวัติการก่อกำเนิดชุมชนและสภาพทางสังคมของเกาะสีชัง เชื่อว่าเริ่มต้นในระหว่าง ปี พ.ศ. 2411 - 2453
ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยก่อนนั้นเชื่อว่าเกาะสีชัง เป็นเกาะซึ่งมีประชาชน ประกอบอาชีพ ประมง อาศัยอยู่จำนวนน้อยมากและมีไม่กี่หลังคา เรือนเพราะว่าลักษณะ โดยทั่วไปของเกาะ มีโขดหินเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติ จึงเป็นอุปสรรคและข้อ จำกัดจำนวนประชากรในยุคต้น ๆ หลังจากสิ้นสมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว เกาะสีชังก็ไม่ได้รับการพัฒนา เท่าที่ควร จนกระทั่งประมาณปี พ.ศ. 2503 เกาะสีชังก็เริ่มคึกคักมีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งเนื่องจากเรือสินค้า ขนาดใหญ่ที่มีระวางเกิน 10,000 ตัน ขึ้นไปไม่สามารถจะนำสินค้าเข้ามาเทียบท่าเรือคลองเตยได้เพราะสภาพท่าเรือ ที่ตื้นเขิน เรือสินค้าขนาดใหญ่เหล่านี้ได้จอดทอดสมอใกล้เกาะสีชัง เพื่อหลบคลื่นลมและถ่ายเทสินค้าลงเรือขนาดเล็กแล้วลำเลียงเข้าสู่กรุงเทพ มหานคร มีการตั้งด่านศุลกากรควบ คุมเรื่องภาษีและตรวจคนเข้าเมือง ลูกเรือสินค้ามาใช้บริการบนเกาะสีชังและพักผ่อนหย่อนใจ สภาพของชุมชนก็เริ่มขยายตัวและเติบโตขึ้นมาเป็นลำดับ
ของฝากเกาะสีชัง